วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 8

Recorded Diary 8

Monday  23 September  2019

Time 13:30 - 17:30 o'clock




The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 

 กลุ่มที่ 5และ6 เเนวการสอนเกี่ยวกับ Executive Functions (EF) 

คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ซึ่งลูกจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากความจำมาสู่การกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น

  ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 – 6 ปี เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย

Executive Functions (EF)

ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่

1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)

2. ทักษะการยั้งคิด (Inhibitory Control)
3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)
6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)

7. การประเมินตนเอง (Self-Monitoring)

8. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)

9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

รูปภาพการสอน
กลุ่มที่ 7 เเนวการสอนเกี่ยวกับ การสอนแบบโครงการ (Project Approach)
      ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด มีความมุ่งหมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ 

ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ 

ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา

ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น 

ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
รูปภาพการสอน



กลุ่มที่ 8 เเนวการสอนเกี่ยวกับ  STEM 

  เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญแลจำเป็น เกิดจากการย่อชื่อตัวอักษรตัวแรกของ 4 สาระเข้าด้วยกัน นั่นคือ 

1. วิทยาศาสตร์ (S: Science) เน้นเกี่ยวกับความเข้าใจใน ธรรมชาติ โดยนักการศึกษามักชี้แนะให้อาจารย์ครูผู้สอนใช้ วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะ (Inquirybased ScienceTeaching) กิจกรรมการสอนแบบแก้ปัญหา (Scientific Problem-based Activities) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ เหมาะกับผู้เรียนระดับประถมศึกษา แต่ไม่เหมาะกับผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย เพราะทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายและไม่สนใจ แต่การสอนวิทยาศาสตร์ใน STEM จะทำให้นักเรียนสนใจมีความกระตือรือร้น รู้สึก ท้าทายและเกิดความมั่นใจในการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนสนใจที่ จะเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นและประสบ ความสำเร็จในการเรียน

2. เทคโนโลยี (T: Technology) เป็นวิชาที่เกี่ยวกับกระบวนการ แก้ปัญหา ปรับปรุง พัฒนาสิ่งต่างๆ หรือกระบวนการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเราโดยผ่านกระบวนการ ทำงานทางเทคโนโลยีที่เรียกว่า Engineering Design หรือ Design Process ซึ่งคล้ายกับกระบวนการสืบเสาะ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงมิได้หมายถึงคอมพิวเตอร์หรือ ICTตามที่คนส่วน ใหญ่เข้าใจ

3. วิศวกรรมศาสตร์ (E: Engineering) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคิด สร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรมต่างๆให้กับนิสิตนักศึกษาโดยใช้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งคน ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นวิชาที่สามารถเรียนได้แต่จากการ ศึกษาวิจัยพบว่าแม้แต่เด็กอนุบาลก็สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน

4. คณิตศาสตร์(M: Mathematics) เป็นวิชาที่มิได้หมายถึงการนับ จำนวนเท่านั้น แต่เกี่ยวกับองค์ประกอบอื่นที่สำคัญ ประการ แรกคือกระบวนการคิดคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking) ซึ่งได้แก่การเปรียบเทียบ การจำแนก/จัดกลุ่มการ จัดแบบรูป และการบอกรูปร่างและคุณสมบัติประการที่สอง ภาษาคณิตศาสตร์ เด็กจะสามารถถ ่ายทอดความคิดหรือ ความเข้าใจความคิดรวบยอด(Concept) ทางคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้ภาษาคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร เช่น มากกว่า น้อยกว่า เล็กกว่า ใหญ่กว่า ฯลฯ ประการต่อมาคือการส่งเสริมการคิด คณิตศาสตร์ขั้นสูง (Higher-Level Math Thinking) 
จาก กิจกรรมการเล่นของเด็กหรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

รูปภาพการสอน


กลุ่มที่ 9และ 10  เเนวการสอนเกี่ยวกับ การสอนแบบมอนเตสซอรี่

เริ่มจากการสังเกต ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคน การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัดทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาทสัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด การขัดและอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน สำหรับอุปกรณ์จะมีการออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา และพัฒนาการคิดอย่างมีระบบมีเหตุผล เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษาและหลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น เป็นความรู้สึกที่ใช้ประสาทสัมผัสร่วมกัน
แนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะเริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม และอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ อุปกรณ์เป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง และในการจัดเก็บอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสำหรับวางอุปกรณ์ เพื่อที่เด็กจะได้จัดเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
หลักการสอนของมอนเตสซอรี่
เด็กได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันเด็กจึงควรได้รับการยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเองคุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถและพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วงวัย
จิตซึมซับ เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำโดยเด็กจะซึมซับเอาข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง
ช่วงเวลาหลักของชีวิต เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ
การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน
การศึกษาด้วยตัวเอง เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง
การวัดประเมินผล คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผลโดยใช้วิธีการสังเกตและวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคลในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการสังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน
รูปภาพการสอน

 




Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้คำเเนะนำหลากหลายในการปรับใช้



วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 7


Recorded Diary 7

 Monday  16 September  2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock



The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 

อาจารย์ให้มาเรียนรวมกัน เพราะว่าจะให้นำเสนอเกี่ยวกับเเนวการสอนเรื่องต่างๆที่ได้จับฉลากกันไป

กลุ่มที่ 1และ 2 เเนวการสอนเกี่ยวกับ การสอนแบบไฮสโคป (High Scope) 
ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
รูปภาพการสอน


กลุ่มที่ 3 เเนวการสอนเกี่ยวกับ Project Approach

ระยะที่1 – เริ่มต้น

เด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไร เกี่ยวกับเรื่องที่เลือกแล้วบ้าง ครูช่วยให้เด็กๆบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น วาด ปั้น จำลอง ฯลฯ เด็กๆบอกข้อสงสัยที่เด็กๆมีเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆจะเรียนรู้ และครูช่วยให้เด็กๆสรุปตั้งคำถามที่เด็กๆต้องการ หาคำตอบในระหว่างการสำรวจสืบค้นครั้งนี้ และบันทึกคำถามเหล่านั้น เด็กๆพูดคุยเกี่ยวกับว่าคำตอบที่เด็กๆจะสำรวจสืบค้นได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็กๆบันทึกความคาดคะเนของเด็กๆไว้ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในภายหลัง

Project Approach ระยะที่2 – การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้

ครูช่วยเด็กๆวางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบค้นได้ รวมถึงการจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจเรียนรู้ ที่จะสามารถตอบคำถามของเด็กๆได้ มาให้ความรู้กับเด็กๆ เด็กๆใช้หนังสือและคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ ในระหว่างกิจกรรมในวงกลมที่เด็กๆสามารถประชุมร่วมกัน และนำเสนอรายงานสิ่งที่เด็กๆค้นพบในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นระยะ ครูส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กๆถามคำถามและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆแต่ละคนได้ค้นพบคำตอบหรือเรียนรู้ด้วย เด็กๆวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนคำและป้ายต่างๆ สร้างกราฟและหรือแผนภูมิสิ่งที่เด็กๆวัดและนับ แล้วเด็กๆก็สร้างจำลองสิ่งที่เด็กๆสนใจเรียนรู้กัน เมื่อเด็กๆเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เด็กๆสามารถพิจารณาทบทวนและเพิ่มเติมหรือทำจำลองใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมไปได้เรื่อยๆด้วย

Project Approach ระยะที่3 – การสรุป Project

เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่เด็กๆตั้งไว้ได้ และเด็กๆจะได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้กับความรู้เดิมของเด็กๆว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเปรียบเทียบกับการคาดคะเนของเด็กๆที่ทำไว้ตั้งแต่ระยะแรกด้วย เด็กๆช่วยกันวางแผนจัดแสดงให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆได้เห็น วิธีการเรียนรู้ กิจกรรม ผลงาน และสิ่งที่เด็กๆค้นพบเรียนรู้ เด็กๆลงมือจัดแสดงเพื่อแบ่งปันความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับ “ Project Approach ” ของเด็กๆ ครูจะได้ช่วยสนับสนุนส่งเสริมนักสืบรุ่นจิ๋วเหล่านี้วางแผน และดำเนินการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆทำ และค้นพบกันอย่างสนุกสนาน กระตือรือร้นและภาคภูมิใจ

กิจกรรมในห้องเรียนมีการเรียนรู้หลากหลายอย่างเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน เด็กสามารถเลือกตามความสนใจของเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่ครูจะชักชวนให้เด็กได้ฝึกทักษะจากสื่อหลากหลายและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตามความพร้อมของเด็กแต่ละคน ทั้งเป็น กลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก และรายบุคคล สลับกันไป โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคนในทุกด้าน


รูปภาพการสอน



กลุ่มที่ 4 เเนวการสอนเกี่ยวกับ STEM 

  เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็น 

  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มระดับการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ให้เด็กปฐมวัย เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Active Learning) ซึ่งใช้การบูรณาการสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีลักษณะการจัดการเรียนรู้ 5 ประการได้แก่
(1) จัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการ
(2) เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำ อาชีพ
(3) พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
(4) จัดกิจกรรมให้ท้าทายความคิดของเด็กปฐมวัย
(5) เปิดโอกาสให้ เด็กได้สืบค้น นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหา เป็นการสร้างประสบการณ์ ผ่านการเล่นและการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม การสืบค้น การรวบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ และเด็กต้องการโอกาสนำเสนอผลงานที่ผ่านการคิดที่เหมาะสมกับระดับ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย 


Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจฟังเพื่อน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา
Teacher อาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกเเละใจดีเเละยังให้ความรู้เพิ่มเติมในหลายๆเรื่องที่เราไม่รู้



วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 6

Recorded Diary 6


 Monday  9 September  2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock




The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 

 วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนออกาทำกิจกรรมเคลื่อไหวให้ดูว่าแผนที่เขียนมานั้นต้องแก้ตรงไหนบ้าง

รูปในการเรียน







Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจเรียน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกเเละใจดี




กิจกรรมเคลื่อนไหวเเละจังหวะ



กิจกรรมเคลื่อนไหวเเละจังหวะ

หน่วยครอบครัว

เรื่อง บุคคลในครอบครัว


เชิญรับชมได้เลยค่ะ





วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 5

Recorded Diary 5


Monday  2  September  2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock



The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 



 วันนี้เป็นวันที่มาเรียนรวมกัน และอาจารย์สอนเกี่ยวกับการเขียนแผนเคลื่อนไหวและหลังจากนั้นให้ไปเขียนแผนของตนเองและให้ไปอัดคลิปเคลื่อนไหวลงใส่ในบล็อค


บรรยากาศในการเรียน






Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :เข้าเรียนตรงเวลา
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี
Teacher อาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกเเละใจดี