วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 15

Recorded Diary 15


Monday  18  November  2019

Time 13:30 - 17:30 o'clock




  The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ) 


วันนี้เรียนเกี่ยวกับ ทักษะ EF และ ไฮสโคป กับเด็กปฐมวัย

Executive Functions (EF) 

คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ซึ่งลูกจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากความจำมาสู่การกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น  ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 – 6 ปี เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย

Executive Functions (EF)

ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่

1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

  • การให้ลูกดื่มนมแม่ในช่วง 6 เดือน
  • ให้ลูกทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • แสดงความรักด้วยการกอด หอม พูดคุยกับลูกบ่อยๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่น
  • เล่านิทาน อ่านหนังสือกับลูก
  • ให้ลูกเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้จดจำได้ดีขึ้น
2. ทักษะการยั้งคิด (Inhibitory Control)

คือ การควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้ว่าสิ่งใดควรทำ – ไม่ควรทำ เช่น ไม่นำของเพื่อนมาเป็นของตนเอง เป็นต้นกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

  • ของเล่นเสริมพัฒนาการที่ต้องใช้สมาธิ ใช้สมองในการวางแผน และคิดแก้ไขปัญหา
  • ส่งเสริมด้านดนตรี
  • พูดคุยกับลูกบ่อยๆ หากลูกมีความกังวลใจ ให้ลูกเล่าออกมาอย่าเก็บไว้ เพื่อช่วยระบายความรู้สึก
  • สอนให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง เช่น เวลารู้สึกโมโห ให้นับตัวเลข 1-10 หรือหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ จนรู้สึกดีขึ้น ไม่หงุดหงิดโวยวาย หรือไปทำร้ายคนอื่น
3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)

คือ ทักษะที่ช่วยให้ลูกรู้จักปรับตัว ยืดหยุ่น และรู้จักแก้ไขปัญหาได้ตามแต่ละสถานการณ์กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
  • กิจกรรมด้านศิลปะ เช่น การวาดรูป ระบายสี การปั้น การพับ ตัด ปะ
  • ฝึกให้ลูกทำของเล่นจากวัสดุเหลือใช้
  • การต่อบล็อกเป็นรูปทรงต่าง ๆ
4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)

เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการที่ลูกมีสมาธิ ไม่วอกแวก จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดีกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
  • การอ่านหนังสือ
  • การฟังเพลง วาดรูป ระบายสี
  • การเรียนรู้ผ่านการเล่น
  • การต่อจิ๊กซอว์ / ต่อบล็อกรูปทรงต่างๆ
  • การสวดมนต์ ไหว้พระก่อนนอน
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)

ช่วยให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี ไม่โมโห หงุดหงิดง่ายกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
  • การอ่านนิทานที่เกี่ยวกับลักษณะนิสัยที่ดี
  • ให้ลูกได้เล่นร่วมกับผู้อื่น เพื่อรู้จักการแบ่งปัน อดทนรอคอย ไม่แซงคิว
  • ให้ลูกช่วยงานบ้าน และช่วยเลือกเสื้อผ้าที่ไม่ใช้บริจาคสิ่งของไปให้เด็กคนอื่นๆ ที่ขาดแคลน
6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)

เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายและคิดวางแผนด้วยตนเองกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
  • สอนให้ลูกเรียนรู้เรื่องเวลา
  • สอนให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายง่าย ๆ เช่น เก็บออมเงินเพื่อซื้อของที่อยากได้ด้วยตนเอง
  • ให้ลูกรับผิดชอบงานในบ้าน โดยให้เขาเลือกเองก็ได้ ลูกจะได้ทำอย่างมีความสุข
7. การประเมินตนเอง (Self-Monitoring)

สอนให้ลูกรู้จักประเมินตนเอง และแก้ไขปรับปรุง ข้อนี้จะสอนต่อจากเรื่องการวางแผนก็ได้ โดยทำเป็นตารางงานบ้านให้ลูกไว้ งานชิ้นไหนที่ทำแล้วก็ให้ใส่เครื่องหมายถูก ถ้างานชิ้นไหนยังไม่ได้ทำ ก็ลองถามเขาว่างานชิ้นนี้เขายังไม่ทำเพราะเหตุใด เช่น เป้าหมายนั้นยากไป จะได้ช่วยกันแก้ไขให้ดีขึ้น

8. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)

เป็นการฝึกให้ลูกกล้าคิด กล้าทำอะไรใหม่ๆกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
  • เปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น และเลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ
  • เมื่อลูกวาดรูประบายสี ลองให้เขาเล่าผลงานของเขาว่าสิ่งๆ นั้นคืออะไร เขาจะเล่าด้วยความภูมิใจ
  • พาลูกไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ บ้าง เพื่อให้มีสังคม และได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง
9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

ช่วยให้ลูกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคง่ายๆ จะตั้งใจทำจนกว่าจะสำเร็จกิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :
  • กิจกรรมด้านดนตรี กีฬา และศิลปะ
  • การต่อจิ๊กซอว์ ต่อบล็อก ของเล่นไม้ เกมตึกถล่ม
  • หมากฮอส หมากรุก
     แนวการสอนแบบไฮสโคป  (High/Scope)        


แนวคิดพื้นฐาน           

  การสอนแบบไฮ/สโคป มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory)ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ขึ้น  เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมาย ซึ่งจากแนวคิดนี้ ในการเรียนเด็กสามารถเลือกเรียนเลือกปฏิบัติจัดกระทำดำเนินการเรียนรู้และประเมินผลงานของตนเอง  เด็กจะได้รับการกระตุ้นจากครูให้คิดนำอุปกรณ์มากระทำหรือเล่นด้วยการวางแผนการทำงาน แล้วดำเนินตามแผนไว้ตามลำดับพร้อมแก้ปัญหาและทบทวนงานที่ทำด้วยการทำงานร่วมกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมีครูคอยให้กำลังใจ  ถามคำถาม  สนับสนุน และเพิ่มเติมสิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้ 

แนวคิดสำคัญ    
   
     แนวการสอนแบบไฮ/สโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย  ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้นการเรียนการสอนการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง  โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3  ประการ  คือ
- การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย  มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก  ว่าจะทำอะไร อย่างไร  การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก  เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ

- การปฏิบัติ ( Do ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้  เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา  ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง  เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง

- การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์  ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่  มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร  และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ  และผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ           


บรรยากาศในการเรียน





Assesment ประเมิน


our self ตัวเอง :ตั้งใจเรียน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อาจารย์สอนสนุก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น